ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจ ที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565
ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจ ที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้ใน วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป โดยกำหนดให้สัญญาเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จะต้องมีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขให้เป็นไปตามประกาศดังกล่าว ดังนั้น เรามาดูกันว่าเราซึ่งเป็นลูกค้าที่จะอยู่ในฐานะผู้เช่าซื้อในอนาคต จะได้รับสิทธิประโยชน์และมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติประกาศฉบับดังกล่าวนี้ อย่างไรบ้าง
ข้อ 1. สิทธิประโยชน์ที่เราต้องรู้
1.1 อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับการปรับใหม่ ซึ่งสามารถแยกได้สามประเภท ดังนี้
รถยนต์ใหม่ อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 10 ต่อปี
รถยนต์ใช้แล้ว อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี
รถจักรยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นรถใหม่หรือรถใช้แล้ว อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 23 ต่อปี
เมื่อเทียบกับประกาศฉบับก่อน ดอกเบี้ยที่เราจะได้รับนั้นมีอัตราที่ถูกลง นั่นจึงเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเรา ถ้าเรากำลังมองหารถมาใช้งานและต้องการที่จะทำสัญญาเช่าซื้อครับ
1.2 กรณีที่เราต้องการขอชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในคราวเดียว เพื่อปิดบัญชีค่าเช่าซื้อ โดยไม่ประสงค์ที่จะชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวดอีกต่อไป เราจะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงหรืออาจไม่ต้องเสียดอกเบี้ยใด ๆ อีก ดังนี้
กรณีที่หนึ่ง เมื่อเราชำระค่างวดไม่เกินหนึ่งในสามของค่างวดที่ระบุในสัญญา จะได้รับส่วนลดไม่น้อยกว่า 60 % ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
กรณีที่สอง เมื่อเราชำระค่างวดไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของค่างวดตามสัญญา จะได้รับส่วนลดไม่น้อยกว่า 70 % ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ครบกำหนดชำระ
กรณีที่สาม เมื่อเราชำระค่างวดเกินกว่าสองในสามของค่างวดตามสัญญา จะได้รับส่วนลดทั้งหมดของสัญญาเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
เห็นหรือไม่ครับ ว่าเราได้รับสิทธิประโยชน์ เรื่องดอกเบี้ยในหลายกรณีเลย ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะเลือกกรณีไหน
1.3 เมื่อเราได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญา
เมื่อเราได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้ว กรรมสิทธิ์ในรถยนต์หรือจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อนั้นจะตกเป็นของเราทันที แม้ผู้ให้เช่าซื้อจะยังไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนเล่มให้เราเลยก็ตาม
และภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เราได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องจดทะเบียนโอนเล่มรถยนต์หรือจักรยานยนต์ดังกล่าว ให้เป็นชื่อของเรา ซึ่งถ้าหากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อยังไม่ดำเนินการจดทะเบียนโอนเล่มให้กับเรา ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องเสียเบี้ยปรับตามกฎหมายด้วย
1.4 กรณีที่เราชำระค่างวดเช่าซื้อไปแล้ว แต่บางกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิหักเงินของเราไปเป็นค่าใช้จ่าย หรือค่าธรรมเนียมใดๆ ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องแจ้งเราให้ทราบเป็นหนังสือก่อน อย่างน้อย 7 วัน หากผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้มีหนังสือฉบับดังกล่าว หรือมีแต่พ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ย่อมไม่สามารถหักเงินค่างวดที่เราได้ชำระไปแล้วได้อีก ข้อนี้สังเกตุกันดีๆ นะครับ เพราะเป็นสิทธิ์ของเรา อย่าให้ผู้ให้เช่าใช้สิทธิ์ตามอำเภอใจมาเก็บเงินของเราได้
ข้อ 2. หน้าที่ที่เราต้องรู้
ประกาศฉบับนี้ ให้สิทธิประโยชน์แก่เราก็หลายอย่าง แต่ก็ได้กำหนดหน้าที่ให้เราต้องทำตามด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 กรณีที่เรามีหนี้ค้างชำระ
เรามีหน้าที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย กรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อมีการโทรติดตามทวงถามหนี้ ดังนี้
กรณีแรก เมื่อเรามีหนี้ค้างชำระหนึ่งงวด ไม่เกิน 50 บาท ต่อรอบการทวงถามหนี้
กรณีที่สอง เมื่อเรามีหนี้ค้างชำระมากกว่าหนึ่งงวด ไม่เกิน 100 บาท ต่อรอบการทวงถามหนี้
กรณีที่สาม ผู้ให้เช่าซื้อได้ส่งตัวแทนลงพื้นที่เพื่อติดตามทวงถามหนี้ค้างชำระที่เกิดขึ้นจริง ไม่เกิน 400 บาท ต่อรอบการทวงถามหนี้ และให้เรียกเก็บได้เฉพาะกรณีที่ลูกค้ามีหนี้ค้างชำระมากกว่าหนึ่งงวด
อย่างไรก็ตาม หากเราชำระค่างวดเช่าซื้อตรงตามระยะเวลาในสัญญาเช่าซื้อแล้ว เราก็ไม่มีความต้องกังวลในค่าใช้จ่ายเหล่านี้เลย เพราะเราไม่เสียเงินในส่วนนี้อยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็นสร้างเครดิตและความหน้าเชื่อถือของเราต่อบรรดาผู้ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อรายอื่นด้วย เมื่อเราต้องการขอสินเชื่อต่อที่อื่นอีก หรือแม้ขอสินเชื่อรายใหม่ ต่อผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายเดิม ซึ่งก็เป็นผลดีต่อเราทั้งนั้นเลยครับ
2.2 กรณีที่เราต้องการเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อ
กรณีที่เราทำสัญญาเช่าซื้อและผ่อนชำระค่างวดมาดีโดยตลอด แต่มีเหตุจำเป็นที่เราไม่สามารถผ่อนชำระค่างวดต่อไปได้อีก หรือมีความประสงค์เปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อเป็นเป็นเช่าซื้อรายใหม่ เราสามารถร้องขอให้ผู้ให้เช่าซื้อดำเนินการดังกล่าวให้เราได้ และเรามีหน้าที่ต้องค่าใช้จ่ายให้กับผู้ให้เช่าซื้อ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพียงเท่าที่ผู้ให้เช่าซื้อได้ใช้จ่ายไปจริง โดยประหยัด ตามความจำเป็น และมีเหตุผลอันสมควร แต่ทั้งนี้ก็ไม่เกินจำนวน 2500 บาท ครับ
2.3 กรณีจดทะเบียนโอนเล่มรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์
เมื่อผู้ให้เช่าซื้อดำเนินการจดทะเบียนโอนเล่มรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ณ สำนักงานขนส่งตามเขตท้องที่ เราต้องเป็นผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนเล่มรถดังกล่าว ตามที่กรมการขนส่งทางบกเรียกเก็บตามระเบียบ (ถ้ามี)
สรุป
ตามที่เราได้อ่านข้อมูลดังกล่าวมาแล้ว เราก็จะเห็นได้ว่าประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 มีสาระสำคัญเพื่อเป็นการให้สิทธิประโยชน์แก่เราในฐานะผู้เช่าซื้อมากขึ้น โดยได้กำหนดเนื้อหาสาระสำคัญของสัญญา ให้มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขตรงตามประกาศ เช่น ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องจัดทำตารางแสดงภาระหนี้แนบท้ายสัญญาเช่าซื้อ โดยให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ จำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระในแต่ละงวด แยกเป็นเงินต้น ดอกเบี้ย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และจำนวนค่าเช่าซื้อที่คงค้าง แยกเป็นเงินต้นคงค้างและดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อ รวมทั้งส่วนลดในอัตราดอกเบี้ย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 % หรือ 70 % หรือแม้กระทั่งไม่เสียดอกเบี้ยใดๆ ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ในกรณีมีการขอชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในคราวเดียว หรือปิดบัญชีค่าเช่าซื้อ ซึ่งก็แล้วแต่กรณีที่เราต้องการได้เลยครับ
ภาพรวมประกาศฉบับนี้ จะส่งผลให้เราในฐานะผู้เช่าซื้อ ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างแท้จริงในการทำสัญญาเช่าซื้อเป็นอย่างมากครับ
ที่มา : OCPB WEB ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ เรื่อง การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี
อยากรู้ไหมว่า “เงินเดือนเท่านี้ซื้อบ้านได้เท่าไหร่” จริงๆ แล้วเราสามารถคำนวณได้เอง โดยมีวิธีคิดอยู่ ซึ่งสามารถนำไปคิดได้กับทั้ง “มนุษย์เงินเดือนและผู้ประกอบอาชีพอิสระ”
โครงการ โนเบิล เกเบิล วัชรพล ออกแบบภายใต้แนวคิด Ikigai (อิคิไก) ปรัชญาการใช้ชีวิตของชาวญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึง การสร้างคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ บ้านเดี่ยว AINO พื้นที่ใช้สอย 182 ตร.ม.* 4 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ
สงสัยกันไหมว่า รีไฟแนนซ์รถกับจำนำทะเบียนรถ ต่างกันยังไง? ทำไมไม่เหมือนกัน แล้วควรเลือกหรือตัดสินใจแบบไหน ถ้ามีปัญหาการเงิน รถผ่อนต่อไม่ไหว อยากได้เงินก้อน