ปัจจุบันภาษีอากรได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะเป็นการจับจ่ายซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค ภาษีที่เราเสียอาจจะมาในรูปแบบของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีอากรเป็นหน้าที่ของบุคคลที่ต้องจ่ายหรือชำระให้แก่รัฐตามรัฐธรรมนูญ เพื่อที่จะเป็นรายได้ให้รัฐได้นำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์โอกาสให้แก่ผู้ด้อยโอกาสและบุคคลอื่นๆ ในสังคม แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจถึงภาษีแต่ละประเภทได้อย่างถ่องแท้ การดำเนินธุรกิจก็เช่นเดียวกัน ต้องมีความเข้าใจในเรื่องภาษีอากร จึงจะทำให้ไม่มีความเสี่ยงในการกระทำผิดตามกฎหมายภาษีอากร จึงเป็นเหตุให้นักบัญชีต้องเรียนรู้และมีความสามารถในการปรับใช้เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลให้กิจการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายภาษีอากร
ส่วนใหญ่ธุรกิจจะมีภาษีที่เกี่ยวข้อง 5 ประเภทดังนี้
1 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
- การหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย
(2) การหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแตกต่างกันไป นักบัญชีจึงต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจประเภทของรายจ่ายที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการที่จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องดำเนินการจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้า และวัตถุดิบตามแบบที่ประมวลรัษฎากรกำหนด นักบัญชีที่รับผิดชอบในกิจการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องทำความเข้าใจข้อกำหนดตามกฎหมายและปฏิบัติตามให้ถูกต้อง
สาระสำคัญของใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
- คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ ๆ เห็นได้เด่นชัด
- ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
- ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
- หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
- ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
- จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง
- วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
- ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
3 ภาษีธุรกิจเฉพาะ จัดเป็นรายการประเภทค่าใช้จ่ายในงบการเงินของกิจการที่ประกอบธุรกิจประเภทที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะที่ไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้ชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะพร้อมกับภาษีที่จ่ายให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอีกร้อยละ 10 ของภาษีธุรกิจเฉพาะ
4 ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งตามประมวลรัษฎากร โดยมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้เสียภาษี ซึ่งปัจจุบันอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดอยู่ที่ 20% โดยมีกรมสรรพากรเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดเก็บ
5 อากรแสตมป์ เมื่อมีการเบิกใช้หรือจ่ายชำระ กิจการก็บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้
ภาษีดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงแค่สรุปเพียงสั้น ๆ เท่านั้น หากผู้ใดสนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ตามเว็บไซต์ต่างๆ เช่นเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ซึ่งในเว็บไซต์จะมีพระราชกฤษฎีกาและเรื่องเกี่ยวกับภาษีต่างๆ ให้ศึกษาอีกมาก
ที่มา : www.accrevo.com
จัดทำโดย ฝ่ายบัญชี กรมสรรพากร | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th)
วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้าคณะผู้บริหาร และพนักงาน บริษัท เงินยินดี จำกัด
วันหยุด 2568 หยุดวันไหนบ้าง วันหยุดราชการ วันหยุดประจำปี 2568 แจกฟรี!! ปฎิทินประจำปี เงินยินดี 2568
ฤกษ์มงคล ฤกษ์ดีมีชัย ทำอะไรก็ปัง ในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีวันดีที่เหมาะสำหรับจัดงานพิธีมงคลและประกอบ