รู้หรือไม่ว่า พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร

รู้หรือไม่ว่า พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร ทำไมเราต้องต่อทุกปี

            พ.ร.บ. รถยนต์ คือ ประกันภัยภาคบังคับ ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งได้กำหนดไว้ว่าให้เจ้าของรถ จะต้องต่ออายุในทุก ๆ ปี ซึ่งนอกจากจะเป็นประกันภาคบังคับที่ผู้ใช้รถต้องทำอยู่แล้ว ยังเป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญที่ใช้ในการต่อภาษีรถ

            ซึ่งใจความสำคัญของ พ.ร.บ. นั้น คือ ต้องการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากการใช้รถโดยไม่สนใจว่าบุคคลนั้นจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูก หากเกิดความเสียหายเกิดขึ้น ผู้เสียหายก็จะได้รับความคุ้มครองตามที่กฏหมายกำหนดไว้

            ดังนั้นรถยนต์และรถจักรยานยนต์ หรือแม้กระทั่ง รถบรรทุก รถตู้ ต่างก็ต้องทำการต่อ พ.ร.บ. ด้วยเช่นกัน ซึ่งอัตราเบี้ยประกันภาคบังคับ จะเป็นอัตราเบี้ยคงที่ไม่มีการเพิ่ม แต่ราคาจะแตกต่างกันไปตามประเภทและขนาดของรถ ดังนี้

รถยนต์

  • รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เบี้ยประกัน พ.ร.บ.            = 645.21   บาท / ต่อปี
  • รถกระบะบรรทุกไม่เกิน 3 ตัน     เบี้ยประกัน พ.ร.บ.            = 967.28  บาท / ต่อปี
  • รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง     เบี้ยประกัน พ.ร.บ.            = 1,182.35 บาท / ต่อปี

รถจักรยานยนต์จะแยกตามขนาดของ ซีซี ดังนี้

  • เครื่องยนต์ขนาดไม่เกิน 75 ซีซี     เบี้ยประกัน พ.ร.บ.          = 161.75    บาท / ต่อปี
  • เครื่องยนต์ขนาด 76 – 125 ซีซี   เบี้ยประกัน พ.ร.บ.          = 323.14    บาท / ต่อปี
  • เครื่องยนต์ขนาด 126 – 150 ซีซี   เบี้ยประกัน พ.ร.บ.          = 430.14    บาท / ต่อปี  
  • เครื่องยนต์ที่มีขนาด 150 ซีซี ขึ้นไป เบี้ยประกัน พ.ร.บ.       = 645.12    บาท / ต่อปี

พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง

          โดยหลังจากเกิดเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ จะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายกรณีทุพพลภาพ และค่าปลงศพในกรณีที่เสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด โดยบริษัทประกันจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยชอบธรรมของผู้ประสบภัยใน 7 วัน นับจากวันที่บริษัทได้รับคำร้องขอให้บริษัทชดเชยในความเสียหายจากผู้ประสบภัย โดยมีรายละเอียดดังนี้

ตารางความคุ้มครองประกันภัยภัยรถยนต์ ภาคบังคับ ( พ.ร.บ. )
ความคุ้มครองวงเงินคุ้มครอง
( บาท / คน )
จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
1. ค่ารักษาพยาบาล จากอาการบาดเจ็บ ( ตามที่จ่ายจริง )ไม่เกิน 30,000
2. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร35,000
ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับผู้ประสบภัย
( จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิด )
1. ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บไม่เกิน 80,000
2. กรณีการเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร500,000
3. กรณีทุพพลภาพถาวร ( ไม่สามราถประกอบอาชีพประจำได้ )300,000
4 กรณีสูญเสียอัยวะ 
          นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป200,000
          สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน250,000
          สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน500,000
5. ชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน กรณีเข้ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 4,000
ในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน

พ.ร.บ. สามารถต่อได้ที่ไหนบ้าง และสามารถต่อล่วงหน้าได้กี่วัน

ต่อ พ.ร.บ. ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน สามารถต่อได้ที่

  • Big C ( 09.00 น. – 17.00 น. ) สาขาลาดพร้าว , รามอินทรา , รัชดาภิเษก , บางปะกอก , เพชรเกษม , สุขาภิบาล 3, อ่อนนุช , แจ้งวัฒนะ , สำโรง , บางบอน , สุวินทวงศ์ , สมุทรปราการ , บางใหญ่ และบางนา
  • เซ็นทรัลรามอินทรา ( 10.00 น. – 17.00 น. )
  • พาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ ( 10.00 น.  – 17.00 น.  )
  • เซ็นทรัลเวิลด์ ( 11.00 น. – 18.00 น. )
  • สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ เปิดทำการ จันทร์ – ศุกร์ ตามเวลาราชการ
  • โครงการล้อเลื่อนต่อภาษี ( Drive Thru for Tax ) ที่กรมขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งพื้นที่ 1 – 4
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือ 7-11 ทั่วประเทศ

ถ้าเราไม่ทำการต่อประกัน พ.ร.บ. จะมีโทษหรือความผิดอะไรไหม

มีแน่นอนครับแต่จะมีโทษเป็นค่าปรับ เนื่องจากประกัน พ.ร.บ. นั้นเป็นประกันภาคบังคับและม่สามารถต่อภาษีได้ หากไม่ทำจะมีโทษดังนี้

  1. กรณีเจ้าของรถไม่ทำการต่อประกัน พ.ร.บ. จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  2. กรณีคนที่ไม่ใช้เจ้าของรถ ขับบขี่รถคันที่ไม่ได้ต่ออายุประกัน พ.ร.บ. ไว้จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  3. กรณีเป็นเจ้าของรถแล้วไม่จัดทำประกันภัย พ.ร.บ. และได้นำรถคันดังกล่าวมาใช้ ถือว่ามีความผิดทั้ง 2 กระทง มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

ที่มา พรบรถยนต์ ต่อพรบออนไลน์ 2566 ง่าย สะดวก รวดเร็ว อุ่นใจ – Viriyah

บทความ | ยิ้มได้ประกันภัย (yimdaiinsurance.com)

วิธีต่อภาษีรถยนต์ ต่อ พ.ร.บ.ออนไลน์ ผ่านเว็บไซ… :: AXA Thailand

เงินเดือนเท่านี้ ซื้อบ้านได้ราคาเท่าไหร่
pichan suwannagate

อยากรู้ไหมว่า “เงินเดือนเท่านี้ซื้อบ้านได้เท่าไหร่” จริงๆ แล้วเราสามารถคำนวณได้เอง โดยมีวิธีคิดอยู่ ซึ่งสามารถนำไปคิดได้กับทั้ง “มนุษย์เงินเดือนและผู้ประกอบอาชีพอิสระ”

อ่านเพิ่มเติม »
pichan suwannagate

โครงการ โนเบิล เกเบิล วัชรพล ออกแบบภายใต้แนวคิด Ikigai (อิคิไก) ปรัชญาการใช้ชีวิตของชาวญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึง การสร้างคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ บ้านเดี่ยว AINO พื้นที่ใช้สอย 182 ตร.ม.* 4 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ

อ่านเพิ่มเติม »
รีไฟแนนซ์รถ
pichan suwannagate

สงสัยกันไหมว่า รีไฟแนนซ์รถกับจำนำทะเบียนรถ ต่างกันยังไง? ทำไมไม่เหมือนกัน แล้วควรเลือกหรือตัดสินใจแบบไหน ถ้ามีปัญหาการเงิน รถผ่อนต่อไม่ไหว อยากได้เงินก้อน

อ่านเพิ่มเติม »