ลีสซิ่ง (Leasing)
มีลักษณะคล้ายกับสัญญาเช่าซื้อ คือ เราจะต้องชำระเงินค่าเช่าเป็นงวด ๆ ตามจำนวนเงินและเวลาที่กำหนดในสัญญาเช่า ต่างกันตรงที่เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า เราสามารถเลือกได้ว่าจะซื้อ ต่อสัญญาเช่า หรือว่าส่งคืนทรัพย์ให้กับผู้ให้เช่า ส่วนมากคนที่จะทำสัญญาสินเชื่อลักษณะนี้ มักจะเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่ต้องการเช่าทรัพย์สินที่มีราคาแพงหรือเช่าสินทรัพย์ในปริมาณมาก เช่น เครื่องจักร รถยนต์ หรืออาจเป็นการเช่าสินค้าที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น คอมพิวเตอร์สำนักงาน เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น
สัญญาเช่าลิสซิ่ง มี 2 ประเภท
1. สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) ผู้เช่าจะถือว่าเงินที่จ่ายออกไปทุกเดือนนั้นเป็น “ค่าเช่า” และกรรมสิทธิ์ ในสินทรัพย์นั้นไม่ได้เป็นของผู้เช่า
2. สัญญาเช่าทางการเงิน (Financial Lease) ผู้เช่าจะบันทึกสินทรัพย์ที่เช่าเป็น “สินทรัพย์” ของบริษัท และนำมาคำนวณ ค่าเสื่อมราคา
เช่าซื้อ (Hire Purchase)
มีลักษณะคล้ายกับการซื้อสินค้าเงินผ่อน แต่ต่างกันตรงที่ว่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นยังไม่เป็นของเรา จนกว่าจะชำระค่าสินค้านั้นครบ กล่าวคือ จะมีการทำสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างเราและผู้ให้เช่าซื้อ ว่าจะมีการชำระค่าสินค้าเป็นงวด ๆ ตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนด โดยระหว่างนั้นเราสามารถนำสินค้าหรือทรัพย์สินนั้น มาใช้งานได้ก่อน แต่กรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ จนกว่าจะจ่ายเงินครบ ตามสัญญาจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นมาเป็นของเรา เช่น การเช่าซื้อรถยนต์ หรือจักรยานยนต์ เป็นต้น
สรุปความแตกต่างของ ลีสซิ่ง และ เช่าซื้อ แบบง่าย ๆ
ลีสซิ่ง | เช่าซื้อ | |
1. วัตถุประสงค์ | เพื่อเช่าใช้งานระยะยาว ทำสัญญา 3 ปีขึ้นไป | เพื่อเป็นเจ้าของ ทำสัญญา 1 ปีขึ้นไป |
2. กฏหมายที่เกี่ยวข้อง | ไม่มีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะ | บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ |
3. การเป็นเจ้าของเมื่อครบสัญญา | สามารถเลือกได้ว่าจะเป็นเจ้าของเช่าต่อ หรือคืนเครื่อง | จะเป็นเจ้าของทันที ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ |
4. การคิดดอกเบี้ย | ลดต้นลดดอก (Effective Rate) | เงินต้นคงที่ (Flat Rate) |
5.เหมาะกับเครื่องจักรประเภทใด | คอมพิวเตอร์และไอที เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ต้องการมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยเพราะเทคโนโลยีพัฒนาไปเร็ว เช่น คอมพิวเตอร์ ลีสซิ่งมี สัญญาเช่าดำเนินงาน ให้เลือกเพียงแค่เช่าใช้งานเท่านั้น เมื่อครบสัญญาก็คืนเครื่อง เมื่อไม่ได้เป็นเจ้าของก็สามารถทำสัญญาใหม่กับเครื่องที่ทันสมัยขึ้นได้ | เหมาะกับเครื่องจักรใช้ได้นาน ถ้าเครื่องจักรที่คุณต้องการมีอายุการใช้งานนานและประเภทธุรกิจไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก การเช่าซื้อที่เป็นเจ้าของทันทีเมื่อครบสัญญาจะตอบโจทย์มากกว่า |
6. ทรัพย์สินส่วนใหญ่ที่ให้เช่า | เครื่องจักร และ เครื่องใช้สำนักงาน | รถยนต์ หรือ รถจักรยานยนต์ |
7. การลดหย่อนภาษี | ลดได้มากกว่า เป็นสัญญาเช่า ซึ่งค่าเช่ารายเดือนถือเป็นค่าใช้จ่าย 100% ใช้ลดหย่อนภาษีตาม กฎหมายได้มากกว่าค่าเสื่อมราคาต่อปีรวมดอกเบี้ยในกรณีที่เป็นสินทรัพย์ | ลดได้น้อยกว่า แม้ยังไม่ได้เป็นเจ้าของที่แท้จริง แต่เครื่องจักรในสัญญาจะถือเป็นสินทรัพย์ของธุรกิจตั้งแต่เริ่ม สิ่งที่นำมาคำนวณภาษีจึงไม่ใช่ค่าเช่า แต่เป็นค่าเสื่อมรวมดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งจะใช้ลดหย่อนภาษีได้น้อยกว่า |
8. การหักภาษี ณ ที่จ่าย | หักภาษี ณ ที่จ่าย 5% ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 | ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย |
9. การยกเลิกสัญญา | ผู้เช่าจะเลิกสัญญาฝ่ายเดียวไม่ได้ ตามแต่ละประเภทของลีสซิ่ง | ผู่เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาด้วยการส่งมอบทรัพย์สินคืนให้กับผู้ให้เช่า |
10. แบบไหนเหมาะกับใคร | – นิติบุคคล – ธุรกิจที่คืนทุนและมีกำไรแล้ว ซึ่งต้องการเครื่องจักรเพิ่ม – ผู้ที่เริ่มธุรกิจใหม่ ซึ่งต้องการทั้งที่ดิน อาคาร เครื่องจักร โดยใช้เงินกู้ระยะยาวไปกับการลงทุนที่ดินและอาคารแล้วจึงควรใช้ลีสซิ่ง กับเครื่องจักร เพื่อนำเงินทุนที่มีไปใช้หมุนเวียนแทน – ธุรกิจซึ่งใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำนักงาน | – บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล – SME รายเล็ก ที่ต้องการเป็นเจ้าของเครื่องจักร และยังมีภาระหนี้กับภาระภาษีไม่มากนัก – ธุรกิจซึ่งใช้เครื่องจักรที่มีอายุการใช้งานนาน ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย |
ที่มา 1. getInvoice e-tax invoice solution 2. ธรรมนิติ องค์กรทางวิชาชีพชั้นแนวหน้า บริการด้านกฎหมาย สอบบัญชี สอบภายใน (dharmniti.co.th) 3. SPU Dynamic University | มหาวิทยาลัยศรีปทุม
การซื้อรถยนต์คือทางเลือกที่จะช่วยให้เราเดินทางสะดวกสบายมากขึ้น แต่หลายคนอาจจะไม่ได้วางแผนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากซื้อรถ ซึ่งต้นทุนของการซื้อรถยนต์ 1 คัน ไม่ได้มีแค่
อยากรู้ไหมว่า “เงินเดือนเท่านี้ซื้อบ้านได้เท่าไหร่” จริงๆ แล้วเราสามารถคำนวณได้เอง โดยมีวิธีคิดอยู่ ซึ่งสามารถนำไปคิดได้กับทั้ง “มนุษย์เงินเดือนและผู้ประกอบอาชีพอิสระ”
โครงการ โนเบิล เกเบิล วัชรพล ออกแบบภายใต้แนวคิด Ikigai (อิคิไก) ปรัชญาการใช้ชีวิตของชาวญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึง การสร้างคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ บ้านเดี่ยว AINO พื้นที่ใช้สอย 182 ตร.ม.* 4 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ