วิธีเซ็นรับรองสำเนา “บัตรประชาชน” ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ และตามระเบียบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
ในการใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนกับงานต่าง ๆ เพื่อเป็นเอกสารยืนยันตัวตน เช่น เอกสารประกอบการสมัครงาน มอบอำนาจระหว่างบุคคล สมัครบริการต่าง ๆ เป็นต้น จากภาครัฐและเอกชน เมื่อต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางอื่นได้ง่าย สิ่งที่ต้องพึงปฏิบัติทุกครั้งหากต้องส่งมอบตัวสำเนาให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ และตามระเบียบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มีดังนี้
1. ถ่ายแค่หน้าบัตร ไม่ถ่ายหลังบัตร
2. ขีดฆ่าข้อมูลอ่อนไหวที่ปรากฏบนบัตร เช่น ศาสนา กรุ๊ปเลือด (ตามระเบียบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562)
3. ขีดเส้นคู่ขนานทับสำเนาบัตรประชาชน แต่ไม่ขีดทับใบหน้าบุคคล
4. เขียนข้อความใช้ “สำหรับอะไร…” ลงท้ายด้วย “เท่านั้น” เพื่อป้องกันการเติมข้อความจากผู้ไม่หวังดี
5. รับรอง “สำเนาถูกต้อง” พร้อม “เซ็นชื่อ” เพื่อป้องกันการลบ
6. ระบุ วัน เดือน ปี กำกับทุกครั้ง เพื่อยืนยันวันที่ใช้งาน
การปลอมแปลงบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ และใช้บัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265, 268 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตัวอย่าง



เซ็นชื่อรับรองสําเนาอย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัย – CSD | กองบังคับการปราบปราม

เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน การเดินทางด้วยรถยนต์ก็อาจกลายเป็นเรื่องท้าทายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นถนนลื่น การมองเห็นที่ลดลง หรือการจราจรที่ติดขัด การเตรียมตัวให้พร้อมจึงเป็นสิ

ทั้งหน้าฝนรวมกับพายุเข้าทำให้ระบายน้ำออกไม่ทัน จนในบางพื้นที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมขัง ซึ่งการขับรถลุยน้ำนั้นจะขับอย่างไรให้ปลอดภัยและลดความเสี่ยงที่จะเกิดเครื่อง

ในยุคที่เศรษฐกิจผันผวนและค่าครองชีพสูงขึ้น “สุขภาพการเงิน” ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการมีพื้นฐานทางการเงินที่มั่นคงจะช่วยให้เรารับมือกับเหต